1.เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้สูงขึ้นกว่าการสอนตามปกติ ได้แก่
1.1 การระดมสมอง คือการให้อิสระทางความคิด โดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ในระหว่างที่แสดงการคิดเพราะการวิจารณ์จะรบกวนความคิดสร้างสรรค์1.2 การสร้างแนวคิดใหม่โดยอาศัยแนวคิดเดิม ทำได้ 2 วิธี คือ
1.2.1 การปรับเปลี่ยนลักษณะบางประการ
1.2.2 การโยงความสัมพันธ์มาปรับใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง
1.3. การแยกองค์ประกอบของความคิดโดยอาศัยความรู้เรื่องเมตริกซ์ มาแยกความคิดออกตามแนวแกนตั้งและแนวแกนนอน ซึ่งจะเกิดความคิดใหม่ขึ้น
1.4. การค้นหาความคิดที่มีคนอื่นคิดเอาไว้ เป็นการนำเอาความคิดของท่านอื่นที่ได้ตอบไว้แล้วมาใช้ในช่วงระยะเวลาที่รวดเร็ว
1.5การนำสถานการณ์ต่างกันมาเชื่อมโยงให้เข้ากัน ซึ่งต้องมีการสร้างจินตนาการในจิตใจ
2. การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ซึ่งครูผู้สอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. กระบวนการคิด เป็นการสอนที่เพิ่มทักษะความคิดด้านต่างๆ เช่น ความคิดจินตนาการ ความคิดวิจารณญาณ ความคิดวิเคราะห์ ความคิดแปลกใหม่ ความคิดหลากหลาย ความคิดยืดหยุ่น ฯลฯ2. ผลิตผล เป็นสิ่งที่ชี้ให้เราเห็นศักยภาพทางการคิด เช่น วิธีคิด ประสิทธิภาพทางความคิด การนำความรู้ไปสู่การนำไปใช้ จุดสำคัญในการสอนว่าจะพิจารณาเกณฑ์ของผลผลิตอย่างไรนั้น ควรกำหนดให้เด็กรู้จักระบุจุดประสงค์ของการทำงาน รู้จักประเมินการทำงานของตนเองอย่างมีเหตุผล มีความพยายาม และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้
3. องค์ความรู้พื้นฐาน เป็นการให้โอกาสเด็กได้รับความรู้ผ่านสื่อและทักษะหลายด้าน โดยใช้ประสาทสัมผัสหรือความรู้ที่มาจากประสบการณ์ที่หลากหลาย และมีแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน ทั้งจากหนังสือ ผู้เชี่ยวชาญ การทดสอบด้วยตนเองและที่สำคัญคือให้เด็กได้สร้างความรู้จากตัวของเขาเอง
4. สิ่งที่ท้าทาย ควรจะหางานที่สร้างสรรค์และมีมาตรฐานให้เด็กทำ
5. บรรยากาศในชั้นเรียน การให้อิสระเสรี ความยุติธรรม ความเคารพในความคิดเห็นของเด็ก ให้เด็กได้มั่นใจว่าจะไม่ถูกลงโทษหากมีความคิดที่แตกต่างจากครู หรือคิดว่าครูไม่ถูกต้อง ยอมให้เด็กล้มเหลวหรือผิดพลาด(โดยไม่เกิดอันตราย) แต่ต้องฝึกให้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่ผ่านมา
6. ตัวเด็ก ควรสนับสนุนให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เคารพตนเอง
7. การใช้คำถาม สนับสนุนให้เด็กถามคำถามของเขา หรือครูผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด
8. การประเมินผล หลีกเลี่ยงการประเมินผลที่ซ้ำซาก หรือเป็นทางการอยู่ตลอดเวลา ควรสนับสนุนให้เด็กประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออาจประเมินร่วมกับครู
9. การสอนและการจัดหลักสูตร ควรผสมผสานกับวิชาการต่างๆ เพราะสามารถใช้ได้กับทุกวิชา สอนให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่มีคำตอบที่ดีที่สุด โดยครูเป็นผู้สนับสนุนและช่วยเด็ก ไม่ใช่เป็นผู้สั่งการ
10. การจัดระบบชั้นเรียน ให้เด็กได้ค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น ปรับระบบตารางเรียนให้ยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการและความสามารถที่หลากหลาย จัดกลุ่มการสอนหลายๆแบบ เช่น จับคู่ กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ ฯลฯ
ในการสอนของครูเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ควรจัดการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการที่เหมาะสม ดังนี้
1. การสอน (Paradox) หมายถึง การสอนเกี่ยวกับการคิดเห็นในลักษณะความคิดเห็นที่ขัดแย้งในตัวมันเอง ความคิดเห็นซึ่งค้านกับสามัญสำนึก ความจริงที่สามารถเชื่อถือหรืออธิบายได้ ความเห็นหรือความเชื่อที่ฝังใจมานาน ซึ่งการคิดในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะเป็นวิธีการฝึกประเมินค่าระหว่างข้อมูลที่แท้จริงแล้ว ยังช่วยให้คิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมที่เคยมี เป็นการฝึกมองในรูปแบบเดิมให้แตกต่างออกไป และเป็นส่งเสริมความคิดเห็นไม่ให้คล้อยตามกัน (Non – Conformity) โดยปราศจากเหตุผล ดังนั้นในการสอนของครูจึงควรกำหนดให้นักศึกษารวบรวมข้อคิดเห็นหรือคำถาม แล้วให้นักศึกษาแสดงทักษะด้วยการอภิปรายโต้วาที หรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยก็ได้
2. การพิจารณาลักษณะ (Attribute) หมายถึง การสอนให้นักศึกษา คิดพิจารณาลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ ทั้งของมนุษย์ สัตว์ สิ่งของ ในลักษณะที่แปลกแตกต่างไปกว่าที่เคยคิด รวมทั้งในลักษณะที่คาดไม่ถึง
3. การเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย (Analogies) หมายถึง การเปรียบเทียบสิ่งของหรือสถานการณ์การณ์ที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันหรือตรงกันข้ามกัน อาจเป็นคำเปรียบเทียบ คำพังเพย สุภาษิต
4. การบอกสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง (Discrepancies) หมายถึง การแสดงความคิดเห็น บ่งชี้ถึงสิ่งที่คลาดเคลื่อนจากความจริง ผิดปกติไปจากธรรมดาทั่วไป หรือสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์
5. การใช้คำถามยั่วยุและกระตุ้นให้ตอบ (Provocative Question) หมายถึงการตั้งคำถามแบบปลายเปิดและใช้คำถามที่ยั่วยุ เร้าความรู้สึกให้ชวนคิดค้นคว้า เพื่อความหมายที่ลึกซึ้งสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
6. การเปลี่ยนแปลง (Example of change) หมายถึง การฝึกให้คิดถึงการ
เปลี่ยนแปลงดัดแปลงการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ที่คงสภาพมาเป็นเวลานานให้เป็นไปในรูปอื่น และเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างอิสระ
7. การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ (Exchange of habit) หมายถึง การฝึกให้นักศึกษาเป็นคนมีความยืดหยุ่น ยอมรับความเปลี่ยนแปลง คลายความยึดมั่นต่าง ๆ เพื่อปรับตนเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ดี
8. การสร้างสิ่งใหม่จากโครงสร้างเดิม (An organized random search) หมายถึง การฝึกให้นักศึกษารู้จักสร้างสิ่งใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ ความคิดใหม่ โดยอาศัยโครงสร้างเดิมหรือกฎเกณฑ์เดิมที่เคยมี แต่พยายามคิดพลิกแพลงให้ต่างไปจากเดิม
9. ทักษะการค้นคว้าหาข้อมูล (The skill of search) หมายถึง การฝึกเพื่อให้นักศึกษารู้จักหาข้อมูล
10. การค้นหาคำตอบคำถามที่กำกวมไม่ชัดเจน (Tolerance for ambiguity) เป็นการฝึกให้นักศึกษามีความอดทนและพยายามที่จะค้นคว้าหาคำตอบต่อปัญหาที่กำกวม สามารถตีความได้เป็นสองนัย ลึกลับ รวมทั้งท้าทายความคิด
11. การแสดงออกจากการหยั่งรู้ (invite expression) เป็นการฝึกให้รู้จักการแสดงความรู้สึก และความคิด ที่เกิดจากสิ่งที่เร้าอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า
12. การพัฒนาตน (adjustment for development) หมายถึง การฝึกให้รู้จักพิจารณาศึกษาดูความ ล้มเหลว ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แล้วหาประโยชน์จากความผิดพลาดนั้นหรือข้อบกพร่องของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนนำไปสู่ความ-สำเร็จ
13. ลักษณะบุคคลและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (creative person and creative) หมายถึง การศึกษาประวัติบุคคลสำคัญทั้งในแง่ลักษณะพฤติกรรมและกระบวนการคิดตลอดจนวิธีการ และประสบการณ์ของบุคคลนั้น
14. การประเมินสถานการณ์ (a creative reading skill) หมายถึง การฝึกให้หาคำตอบโดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและความหมายเกี่ยวเนื่องกัน ด้วยการตั้งคำถามว่าถ้าสิ่งเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลอย่างไร
15. พัฒนาทักษะการอ่านอย่างสร้างสรรค์ (a creative reading skill) หมายถึง การฝึกให้รู้จักคิดแสดงความคิดเห็น ควรส่งเสริมและให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่อเรื่องที่อ่านมากกว่าจะมุ่งทบทวนข้อต่างๆ ที่จำได้หรือเข้าใจ
16. การพัฒนาการฟังอย่างสร้างสรรค์ (a creative listening skill ) หมายถึง การฝึกให้เกิดความรู้สึกนึกคิดในขณะที่ฟัง อาจเป็นการฟังบทความ เรื่องราวหรือดนตรี เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูล ความรู้ ซึ่งโยงไปหาสิ่งอื่น ๆ ต่อไป
17. พัฒนาการเขียนอย่างสร้างสรรค์ ( a creative writing skill ) หมายถึง การฝึก
ให้แสดงความคิด ความรู้สึก การจินตนาการผ่านการเขียนบรรยายหรือพรรณนาให้เห็นภาพชัดเจน
18. ทักษะการมองภาพในมิติต่างๆ (Visualization skill) หมายถึง การฝึกให้แสดงความรู้สึกนึกคิดจากภาพในแง่มุม แปลกใหม่ ไม่ซ้ำเดิม
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=12150 ได้รวบรวมกลวิธีการสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไว้ว่า
1.การระดมสมอง ซึ่งหลักสำคัญ คือ การอิสระในการคิด
โดยการไม่พิพากษ์วิจารณ์ในระหว่างที่การแสดงความคิดเพราะการวิจารณ์จะรบกวนความคิดสร้างสรรค์ขั้นตอนการระดมสมองสามารถแบ่งออกได้
4 ขั้นตอน
-
การลดการวิจารณ์
-
การให้อิสระในการคิด
- มีปริมาณในการคิดที่หลากหลาย
-
การสังเคราะห์ความคิดให้กระชับและเข้าใจ
2.การสร้างแนวคิดใหม่โดยอาศัยแนวคิดเดิม แบ่งเป็น 2 วิธี
- การปรับเปลี่ยนลักษณะบางประการ
- การโยงความสัมพันธ์มาปรับใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง
3. การแยกองค์ประกอบของความคิด
โดยอาศัยความรู้เรื่อง เมตริกซ์ มาแยกความคิดออกตามแนวแกนตั้งและแนวแกนนอน
4. การค้นหาความคิดที่มีคนอื่นคิดเอาไว้ เป็นการนำเอาความคิดของท่านอื่นที่ได้ตอบไว้แล้วมาใช้ในช่วงระยะเวลาที่รวดเร็ว
ดังนั้น วิธีการนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจและมีความจำที่ดีเยี่ยมในเหตุการณ์นั้นๆ
5. การนำสถานการณ์ต่างกันมาเชื่อมโยงให้เข้ากัน ซึ่งต้องมีการสร้างจินตนาการในจิตใจหรือแนวคิดใหม่มีการประยุกต์ใช้ในสหสาขาวิชา
เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นการประยุกต์เปรียบเทียบในการแก้ปัญหา
แต่การคิดสร้างสรรค์นั้นก็ยังมีข้อจำกัดด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า
-
ความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเกิดขึ้นได้ทุกคน ในบางเรื่องและบางสถานการณ์เท่านั้น
-
การแสดงความคิดสร้างสรรค์สามารถแสดงออกได้แต่ละคนแตกต่างกัน
-
ความมีอิสระในการแสดงความคิดสร้างสรรค์มีผลต่อสุขภาพจิตของคนนั้นๆ
- เด็กๆ
สามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อมีสถานะการณ์อยู่ในภาวะสร้างสรรค์
จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า กลวิธีการสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดที่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงโดยอาศัยความคิดที่แตกต่างเชื่อมความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้อย่างเหมาะสมซึ่งเทคนิคการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จะประกอบไปด้วย
1.การระดมสมอง
2.การสร้างแนวคิดใหม่
3.การแยกองค์ประกอบความคิด
4.การค้นหาความคิดที่คนอื่นคิดเอาไว้
5.การนำสถานการณ์มาเชื่อมโยงกัน
การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์โดยใช้วิธีที่เหมาะสมคือ
1.การสอน การพิจารณาลักษณะ
2.การบอกสิ่งที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
3.การเปรียบเทียบอุปมา อุปมัย
4.การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ
5.การสร้างสิ่งใหม่
6.การแสดงออกการหยั่งรู้
7.การพัฒนาทั้งตนเองในด้านต่างๆ
8.ทักษะการมองภาพในมิติต่างๆ
1.การระดมสมอง
2.การสร้างแนวคิดใหม่
3.การแยกองค์ประกอบความคิด
4.การค้นหาความคิดที่คนอื่นคิดเอาไว้
5.การนำสถานการณ์มาเชื่อมโยงกัน
การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์โดยใช้วิธีที่เหมาะสมคือ
1.การสอน การพิจารณาลักษณะ
2.การบอกสิ่งที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
3.การเปรียบเทียบอุปมา อุปมัย
4.การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ
5.การสร้างสิ่งใหม่
6.การแสดงออกการหยั่งรู้
7.การพัฒนาทั้งตนเองในด้านต่างๆ
8.ทักษะการมองภาพในมิติต่างๆ
ที่มา
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=70.สอนเด็กคิดสร้างสรรค์
สรรค์สร้างด้วยครู.เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สรรค์สร้างด้วยครู.เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
https://sites.google.com/site/krunoinetwork/khwam-khid-srangsrrkh-kab-kar-reiyn-ru.ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558.
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=12150. สอนอย่างไรให้คิดสร้างสรรค์.เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558.
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=12150. สอนอย่างไรให้คิดสร้างสรรค์.เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น